โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ลงพื้นที่เยี่ยมชมและติดตามผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาการพูด  อ่าน เขียนภาษาไทย (Mobility of Volunteer educations : MOVE) โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน | กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี

มทร.ล้านนา ลงพื้นที่เยี่ยมชมและติดตามผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาการพูด อ่าน เขียนภาษาไทย (Mobility of Volunteer educations : MOVE) โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 31 มกราคม 2566 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 481 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

          วันที่ 25 - 27 มกราคม พ.ศ. 2566 อาจารย์ ดร.รัตนพล พนมวัน ณ อยุธยา อาจารย์สังกัดสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร และนายวรรธนพงศ์ เทียนนิมิตร เจ้าหน้าที่ทั่วไปแผนงานใต้ร่มพระบารมี ดำเนินงานขับเคลื่อนงานส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านการอ่าน พูด เขียน ภาษาไทย ของนักเรียนในถิ่นทุรกันดาร บนพื้นที่สูงในพื้นที่โครงการพระราชดำริ (MOVE) ภายใต้การดำเนินโครงการสืบสานต่อยอดและติดตามเพื่อขับเคลื่อนงานโครงการตามพระราชดำริสำหรับคนทุกช่วงวัย เดินทางลงพื้นที่เยี่ยมชมโรงเรียนในโครงการ (Mobility of Volunteer educations : MOVE) พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมร่วมประชุมหารือร่วมครูประจำและครูอาสาสมัครของโรงเรียนในโครงการ ( MOVE) แต่ละแห่ง ประเด็นเรื่อง การเรียนการสอนภาษาไทย การพัฒนาทักษะอาชีพต่างๆ รูปแบบและเกณฑ์การประเมิน ปัญหาและความต้องการของครูและเด็กนักเรียนในการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาให้ได้รูปแบบและวิธีการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านอ่าน พูด และเขียนไทย เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายตามบริบทในแต่ละพื้นที่

โดยมีกำหนดการดำเนินงานขับเคลื่อนงานส่งเสริมและพัฒนา พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีดังนี้

  • วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2566 โรงเรียนผาเยอ ,โรงเรียนผาเยอน้อย ต.กองก๋อย อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน
    คณะทำงานฯ เข้าพื้นที่ไปโรงเรียน เพื่อเยี่ยมชมและปรึกษาร่วมกับคณะครูประจำโรงเรียน และครูอาสาสมัครช่วยสอน ประเด็นการวางแผนการเรียนการสอนเพื่อกำหนดเป้าหมายและทิศทางการเรียนการสอน พร้อมประเมินศักยภาพการใช้ภาษาไทยเด็กนักเรียนรายบุคคล จากแบบฝึกบัญชีคำพื้นฐาน
  • วันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2566 โรงเรียนบ้านแม่แพน้อย ต.กองก๋อย อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ,โรงเรียนบ้านอูหลู่ ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
    คณะทำงานฯ เข้าพื้นที่ไปโรงเรียน เพื่อเยี่ยมชมและปรึกษาร่วมกับคณะครูประจำโรงเรียน และครูอาสาสมัครช่วยสอน ประเด็นการวางแผนการเรียนการสอนเพื่อกำหนดเป้าหมายและทิศทางการเรียนการสอน รวบรวมข้อมูล สอบถามปัญหาสุขภาพ การขาดเรียนของเด็กนักเรียน และการให้ความสำคัญการศึกษา พร้อมประเมินศักยภาพการใช้ภาษาไทยเด็กนักเรียนรายบุคคล จากแบบฝึกบัญชีคำพื้นฐาน
  • วันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต คณะทำงานเข้าร่วมประชุมติดตามผลการดำเนินงานการส่งเสริมและพัฒนาการพูด อ่าน เขียนภาษาไทย ร่วมกับคณะทำงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะทำงานสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เขต 2 และครูประจำโรงเรียน รวมถึงครูอาสาสมัครช่วยสอน ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยได้แลกเปลี่ยนข้อมูลความก้าวหน้าในการเรียนการสอน และการใช้เครื่องมือและกระบวนการในการทดสอบและประเมินผล เพื่อเป็นแนวทางการขับเคลื่อนพัฒนาการ อ่าน พูด เขียน ภาษาไทย ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปัญหา/ความต้องการของครูและเด็กนักเรียน เพื่อการพัฒนาแก้ปัญหาและสร้างแรงจูงใจการอ่าน เขียนภาษาไทยให้เกิดผลสำเร็จที่สุด




ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา