โลโก้เว็บไซต์ 23 ตุลาคม วันปิยมหาราช น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  | กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี

23 ตุลาคม วันปิยมหาราช น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

เผยแพร่เมื่อ : อาทิตย์ 23 ตุลาคม 2565 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 1167 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศไทยหลายด้าน และสิ่งที่โดดเด่นคือ การประกาศ เลิกทาส เป็นการหยุดวงจรการเป็นทาส เพราะเมื่อสมัยก่อนหากพ่อแม่เป็นทาส ลูกที่เกิดมาก็ต้องเป็นทาสต่อไปเรื่อยๆ ทางราชการจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคมของทุกปีเป็นหนึ่งในวันระลึกถึงความสำคัญของเหตุการณ์ในชาติ โดยเรียกว่า “วันปิยมหาราช” 

พระราชประวัติ

     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2396 เป็นโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา พระบรมราชินี)เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรลังกาศ ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ พระองค์ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ศึกษาวิชาต่างๆ เช่น ชีววิทยา วิชาดาบ วิศวกรรมศาสตร์ ภาษาอังกฤษและมานุษยวิทยา และเดินทางไปต่างประเทศและศึกษายุโรป และวิทยาศาสตร์การทหาร ในช่วงครองราชย์ 42 ปี พระองค์ทรงริเริ่มขบวนการปฏิรูปการพัฒนาตนเองและความเจริญรุ่งเรือง ทำให้การเมืองและการทหารของไทยเป็นตะวันตก และบรรลุความมั่งคั่ง ความก้าวหน้า สันติภาพและความพึงพอใจของประเทศ นักวิชาการหลายคนเชื่อว่าการกระทำของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาเอกราชไว้ได้

ประราชกรณียกิจสำคัญ

การเลิกทาส : ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า “พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124” (พ.ศ.2448) เลิกเรื่องลูกทาส ในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาส ไม่เป็นทาสอีกต่อไป การซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา ส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่แล้ว ให้นายเงินลดค่าตัวให้เดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด

การปฏิรูประเบียบบริหารราชการ : ได้ทรงปรับปรุงหน้าที่ของกรมต่าง ๆ ที่มีอยู่แต่เดิมให้เป็นระเบียบเรียบร้อยโดยรวมกรมต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายเวลานั้นเข้าเป็นกระทรวง กระทรวงหนึ่ง ๆ ก็มีหน้าที่อย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างพอเหมาะสม

การศึกษา : ทรงโปรดให้จัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง แล้วมีหมายประกาศชักชวนพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการให้ส่งบุตรหลานเข้า เรียน โรงเรียนภาษาไทยนี้

การคมนาคม ได้โปรดเกล้าฯ ให้ขยายถนนบำรุงเมือง ถนนที่ทรงสร้างใหม่ คือ ถนนเยาวราช ถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนดินสอ ถนนบูรพา ถนนอุณากรรณ เป็นต้น

การสุขาภิบาล ได้ทรงตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อดูแลจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นหลายแห่ง เช่น ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลบางรัก โรงพยาบาลโรคจิต และโรงเลี้ยงเด็ก 

การวรรณคดี ทรงเป็นนักประพันธ์ ซึ่งมีความชำนาญทั้งทางร้อยแก้วและร้อยกรอง เช่น ไกลบ้าน ลิลิตนิทราชาคริต เงาะป่า พระราชพิธีสิบสองเดือน เป็นต้น        

     ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหารและบุคลากรกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ขอน้อมรำลึกถึง
พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าและเพื่อเทิดพระเกียรติแด่พระองค์ท่านที่ทรงมีคุณูปการต่อประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

  • กรมส่งเสริมวัฒนธรรม http://www.culture.go.th/



ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา