โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา รวมพลังกับ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้โครงการพัฒนาทักษะอาชีพเฉพาะของแรงงานอิสระยุค 4.0 (Gig Worker) มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน สู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน | กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี

มทร.ล้านนา รวมพลังกับ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้โครงการพัฒนาทักษะอาชีพเฉพาะของแรงงานอิสระยุค 4.0 (Gig Worker) มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน สู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 18 มีนาคม 2567 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 225 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     ระหว่างวันที่ 18 – 22 มีนาคม 2567 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์วรจักร์ เมืองใจ ผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน นายวัชระ กิตติวรเชฏฐ์ วิศวกร กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี และนาย ณัฐวัฒน์ พัลวัล อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นคณะวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ ร่วมกับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้โครงการพัฒนาทักษะอาชีพเฉพาะของแรงงานอิสระยุค 4.0 (Gig Worker)  ณ เทศบาลตำบลหนองแฝก อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และการฝึกทักษะอาชีพให้แก่ผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ แรงงานนอกระบบ ผู้รับจ้างทั่วไป ผู้ประกอบการอาชีพอิสระ ที่มีความต้องการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โดยมุ่งเน้นการสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพที่มีผลิตภาพ และรายได้สูงขึ้น ผ่านการพัฒนาทักษะแรงงาน ตามบริบทของพื้นที่ และทิศทางการพัฒนา ตลอดจนสนับสนุนเข้าถึงแหล่งทุน และทรัพยากรที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ พร้อมทั้งการให้คำแนะนำด้านการประกอบอาชีพตลอดทั้งกระบวนการ

     กิจกรรมฝึกอบรมยกระดับฝีมือ หลักสูตรการปลูกพืชภายใต้โรงเรือนร่วมกับระบบ Internet of things (IoT) สำหรับเกษตรกร (IoT for Smart Greenhouse) ถ่ายทอดองค์ความรู้ และทักษะที่เกี่ยวกับวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ และระบบควบคุมอัตโนมัติการใช้งานระบบ IOT ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการประกอบอาชีพทางด้านเกษตรอัจฉริยะ ยกระดับห่วงโซ่ด้านการเกษตร โดยมีรายละเอียดหัวข้อที่ใช้ในการฝึกอบรมและบรรยายให้ความรู้ ได้แก่

     1)  การออกแบบ และกลไกการพัฒนาระบบ (IoT) เทคโนโลยีในโรงเรือน
     2)  การออกแบบ และการพัฒนาระบบน้ำในแปลงเกษตร
     3)  การออกแบบ และพัฒนาระบบโซล่านอนนา โซล่าปั้ม และระบบโซล่าควบคุมการจ่ายน้ำแบบตั้งเวลา
     4)  การออกแบบการใช้งาน Internet of Thing (IoT) สำหรับเกษตร





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา