โลโก้เว็บไซต์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ และบรรยายหัวข้อ“ยกระดับกระบวนการจัดการฟาร์ม สู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว Green Productivity” ภายในกิจกรรมเสวนาและการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ฟาร์มแห่งอนาคต เกษตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสีเขียว” | กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี

อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ และบรรยายหัวข้อ“ยกระดับกระบวนการจัดการฟาร์ม สู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว Green Productivity” ภายในกิจกรรมเสวนาและการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ฟาร์มแห่งอนาคต เกษตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสีเขียว”

เผยแพร่เมื่อ : อาทิตย์ 6 กรกฎาคม 2568 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 26 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     วันพฤหัสบดี ที่ 3 กรกฎาคม 2568 ณ ห้องคอนเวนชั่น (ศูนย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน) จังหวัดนครปฐม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกัน สำนึกรักบ้านเกิด จัดกิจกรรมเสวนาและการบรรยายพิเศษในหัวข้อ ฟาร์มแห่งอนาคต เกษตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสีเขียว ภายใต้โครงการคัดเลือก เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี พ.ศ.2568 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมศักยภาพ ต่อยอดองค์ความรู้ และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เกษตรไทย เปิดมุมมองใหม่ในการพัฒนาเกษตรกรรมยุคใหม่ สนับสนุนแนวทางการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยกระดับคุณค่าและมูลค่าสินค้าเกษตร ผ่านแนวทางเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย โดยคุณพิรชัย เบญจรงคกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท รักบ้านเกิด จำกัด ได้กล่าวต้อนรับ และคุณอรรถวุฒิ พึ่งเนียม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ได้กล่าวเปิดกิจกรรม

     ในโอกาสนี้ อาจารย์ณรงค์ นันทกุศล อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 
ซึ่งมีความรู้และความเชี่ยวชาญ ด้านงานบริการวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรงเรือนเพาะปลูก ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรรับเชิญ บรรยายหัวข้อการทำเกษตรเทคโนโลยีใหม่โดยการใช้โรงเรือนเพาะปลูกเพื่อความยั่งยืน ในกิจกรรมช่วงที่ 3: “เปลี่ยนแปลง” ภายใต้หัวข้อ ยกระดับกระบวนการจัดการฟาร์ม สู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว Green Productivity” พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ และจุดประกายแนวคิดและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับความรู้เกษตรกรรมสมัยใหม่และการผลิตที่ยั่งยืน เพื่อนำไปปรับใช้ได้จริง สู่เกษตรกรผู้นำการเปลี่ยนแปลงสีเขียว







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา