เผยแพร่เมื่อ : พุธ 9 กรกฎาคม 2568 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 52 คน
วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรจักร์ เมืองใจ หัวหน้ากลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี นำคณะทำงานกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ร่วมกับบุคลากร สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน และกองประชาสัมพันธ์ ร่วมขับเคลื่อนจัดกิจกรรมลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการ ภายใต้การสนับสนุนของกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ขับเคลื่อนกิจกรรมประชุม แลกเปลี่ยนประเด็นและข้อมูลการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ร่วมกับนายประถม ทองเซอร์ หัวหน้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง และนายปฐมพงษ์ วงศ์ชมพู เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางกระบวนการดำเนินงาน และวินิจฉัยโจทย์ปัญหา ร่วมกับหัวหน้าโครงการ เพื่อหารือแนวทางการพัฒนางาน ขับเคลื่อนและสนับสนุนการขยายผลเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและมีความเหมาะสม คณะทำงานได้ร่วมกันขับเคลื่อนการประชุม รับทราบปัญหา บันทึก จัดเก็บข้อมูลความก้าวหน้าและถ่ายทำวีดิทัศน์ เพื่อจัดทำฐานข้อมูล เผยแพร่ สร้างการรับรู้ การดำเนินงานวิจัยและงานบริการวิชาการที่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ควบคู่กับการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ โดยการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายใน และภายนอก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
กิจกรรมประกอบด้วย
1)สร้างกลไกการติดตามความก้าวหน้า และประเมินผล เพื่อยกระดับผลการดำเนินงานโครงการ
2)ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดงานวิจัย และงานบริการวิชาการที่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาในพื้นที่
3)เกิดการพัฒนาโครงการและบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายใน และภายนอก
4)สนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานของบุคลากร อาจารย์ นักวิจัย ในการทำงานร่วมกับชุมชนและเชิงพื้นที่
ในโอกาสนี้คณะทำงานขับเคลื่อนติดตามความก้าวหน้า โครงการประยุกต์เทคโนโลยีสลัดน้ำผักด้วยระบบลมเย็น สำหรับสนับสนุนการพัฒนากระบวนการคัดบรรจุ กรณีศึกษา ผักใบที่มีความซับซ้อนและบอบบาง ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง โดยมีหัวหน้าโครงการ นางสาวเดือนแรม แพ่งเกี่ยว อาจารย์สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณาจารย์ นักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ เนื่องจากศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง เป็นศูนย์ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมสนับสนุนการพัฒนาชุมชน ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง การจัดการผลผลิตผักสดต้องอาศัยกระบวนที่เหมาะสม ทางศูนย์ฯมีปริมาณการรับผักสดปริมาณที่สูงต่อวัน ทำให้ต้องการการจัดการที่ละเอียดอ่อน ปัญหาน้ำขังในซอกใบผัก ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสินค้าและเพิ่มต้นทุนผลิต โดยคณะผู้ดำเนินโครงการเล็งเห็นโจทย์ปัญหา จึงนำองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมพลังงาน และสิ่งแวดล้อม สนับสนุนงานเกษตรกรรม สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการสลัดน้ำออกจากผักที่สอดคล้องกับความต้องการด้านกำลังการผลิต (Capacity), เวลา (Time) และพื้นที่ (Space) เพื่อลดการสูญเสีย และเพิ่มคุณภาพสินค้า และขับเคลื่อนกลไก ผลักดัน เทคโนโลยีที่เหมาะสมในกระบวนการผลิต ตามหลักการศาสตร์พระราชา การแก้ไขปัญหาจากจุดเล็ก การพึ่งพาตนเองและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และขยายผลอย่างเป็นระบบไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
ภาพ:กองประชาสัมพันธ์ มทร.ล้านนา
ข้อมูล/เรียบเรียง:กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา