โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำแผนปฏิบัติการของหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงหลวง ประจำปีงบประมาณ 2566 | กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี

มทร.ล้านนา ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำแผนปฏิบัติการของหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงหลวง ประจำปีงบประมาณ 2566

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 9 พฤศจิกายน 2565 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 487 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

          วันที่ 9 - 10 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องประชุมแกรนด์วิวฮอล์ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรจักร์ เมืองใจ ผู้ช่วยอธิการบดี ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าแผนงานใต้ร่มพระบารมี และคณะทำงานแผนงานใต้ร่มพระบารมี ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การจัดทำแผนปฏิบัติการของหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงหลวง ประจำปีงบประมาณ 2566” เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำเสนอสรุปผลการดำเนินงาน และแผนปฏิบัติการ ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง สำหรับเป็นคู่มือในการปฏิบัติงานให้เกิดการประสานงาน และขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อคิดเห็นในการดำเนินงาน

โดยมีกำหนดการประชุมเพื่อขับเคลื่อนงานในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง มีดังนี้

  • วันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 การประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนปฏิบัติการของหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ประจำปีงบประมาณ 2566

          ได้รับเกียรติ นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี ประธานกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง กล่าวเปิดประชุม โดยมี พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง มอบนโยบายการบูรณาการการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอย่างยั่งยืน นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เป็นผู้กล่าวรายงานผลการดำเนินงานและวัตถุประสงค์
          ในการประชุมในครั้งนี้คณะทำงานในหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย 1) กลุ่มงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2) กลุ่มงานด้านอาชีพ 3) กลุ่มงานด้านสิ่งแวดล้อม 4) กลุ่มงานด้านสังคม 5) มหาวิทยาลัย เข้าร่วมเพื่อเสนอผลการดำเนินงาน โดยมีนายวัชระ กิตติวรเชฏฐ์ วิศวกร ผู้รับผิดชอบงานสนับสนุนศูนย์/สถานีโครงการหลวง คณะทำงานกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา นำเสนอสรุปผลการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2565 และแผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2566 ตามยุทธศาสตร์ใต้ร่มพระบารมีใต้ร่มพระบารมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

  • วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำแผนปฏิบัติงานแบบบูรณาการในพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ประจำปีงบประมาณ 2566”

          นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง กล่าวเปิดประชุม และให้นโยบายการขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน ระยะ 5 ปี (2566-2570) และแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ระยะ 5 ปี (2566-2570)
          โดย นายสามารถ สาลี วิศวกร ผู้รับผิดชอบงานสนับสนุนศูนย์/สถานีโครงการหลวง ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เข้าร่วมประชุมจัดทำแผนปฏิบัติงานแบบบูรณาการในพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อกำหนดกรอบในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติงาน การติดตาม และการประสานงานด้านต่างๆ ตลอดจนได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแต่ละแห่งต่อไป เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เป็นไปตามเป้าหมายและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทั้งรายละเอียดแนวทางการและแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 -2570)

          ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้สนับสนุนงานตามยุทธศาสตร์ใต้ร่มพระบารมีใต้ร่มพระบารมีอย่างต่อเนื่อง โดยการดำเนินงานสนับสนุนการดำเนินงานของสถานี/ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 39 แห่ง ในพื้นที่อำเภอออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และพื้นที่จังหวัดน่าน ภายใต้แผนงานวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่องานเกษตร (Engineering Energy and Envoironment for Agriculture : 3Es For A) โดยมหาวิทยาลัยฯ ได้มีการกำหนดกรอบแผนงานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ตามแผนแม่บทผ่านกลไกของส่วนสนับสนุนการดำเนินงานมูลนิธิโครงการหลวงและโครงการพระราชดำริ ในระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566 – 2570) ที่มุ่งสืบสาน รักษา ต่อยอด ตามพระราชาปณิธารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีทั้งหมด 6 ด้านดังนี้ 1) การวิจัยและสนับสนุนการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง 2) การพัฒนาส่งเสริมอาชีพและการตลาด 3) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน 4) อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น 6) การเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการ





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา