เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 10 พฤศจิกายน 2566 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 384 คน
ระหว่างวันที่ 8 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ร่วมกับศูนย์วิจัยระบบพลังงานสะอาด มทร.ล้านนา ให้การต้อนรับนางสาวโสรัตยา บัวชุม กำนันตำบลเชิงดอย พร้อมผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด เข้าเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้อัจฉริยะ ณ ศูนย์วิจัยระบบพลังงานสะอาด มทร.ล้านนา ดอยสะเก็ด มีกำหนดการดังนี้
วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 ให้การต้อนรับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลเชิงดอย มีบทบาทหน้าที่สำคัญในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพอนามัย (Change agents) แนะนำเผยแพร่ความรู้ และบริการสาธรณสุขด้านต่างๆ เช่นการส่งเสริมสุขภาพ เผ้าระวังและป้องกันโรค การช่วยเหลือและรักษาพยาบาลขั้นต้น โดยใช้ยาและเวชภัณฑ์ตามขอบเขตที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด การส่งต่อผู้ป่วยไปรับบริการการฟื้นฟูสภาพ กำรคุ้มครองผู้บริโภคด้ำนสุขภาพ หรือบทบาท 6 ประการของ อสม
วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 ให้การต้อนรับคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ตำบลเชิงดอย เป็นกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีมีภารกิจส่งเสริมให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งและเติบโต ขับเคลื่อนส่งเสริมอาชีพและช่องทางการตลาดควบคาไปกับการบริหารจัดการหนี้ โดยมีแหล่งทุน มีเงิน ในการสร้างงาน อาชีพ รายได้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเอง และครอบครัวให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
ด้านวิทยากรให้ความรู้นำโดย นายวัชระ กิตติวรเชฏฐ์ ตำแหน่งวิศวกร นายจิรวุฒิ คนรู้ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่โครงการ กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี และนายวศิน เอี่ยวเฮ็ง ตำแหน่งวิศวกร ศูนย์วิจัยระบบพลังงานสะอาด ร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ และทักษะที่เกี่ยวกับวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ และการดำเนินงานโรงเรือนอัจฉริยะ ซึ่งเป็นการเรียนรู้การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนนิกส์ การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน โดยถ่ายทอด กระบวนการเพาะปลูก ขั้นตอนและอุปกรณ์ในการติดตั้ง เกี่ยวกับเทคโนโลยีโรงเรือนที่ควบคุมสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิอากาศ ความชื้นดิน ความเข้มของแสงให้ตรงตามความต้องการของพืชแต่ละชนิดทำให้สามารถปลูกพืชได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังได้มาการสาธิตระบบควบคุมอัตโนมัติการใช้งานระบบ IOT และการทดลองระบบมอนิเตอร์และการแจ้งเตือนรถสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลโดยใช้เซ็นเซอร์วัดอัตราการไหลของน้ำ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการเกษตร ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการประกอบอาชีพทางด้านเกษตรอัจฉริยะ ยกระดับห่วงโซ่ด้านการเกษตร บูรณาการการดำเนินงานของแปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะเป็นฐานการสร้างประสบการณ์เรียนรู้ให้บุคคลทุกช่วงวัย
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา