โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ประสานความร่วมมือ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่  นำแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากประเทศอิสราเอล เข้าเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้อัจฉริยะ | กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี

กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ประสานความร่วมมือ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ นำแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากประเทศอิสราเอล เข้าเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้อัจฉริยะ

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 17 พฤศจิกายน 2566 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 609 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี และศูนย์วิจัยระบบพลังงานสะอาด มทร.ล้านนา ให้การต้อนรับ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ นำโดยนายชัชวาล สิงห์อุสา นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการ พร้อมคณะทำงานได้นำแรงงานไทยที่เดินทางกลับประเทศอิสราเอล เข้าเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้อัจฉริยะ ณ ศูนย์วิจัยระบบพลังงานสะอาด มทร.ล้านนา ดอยสะเก็ด

     โดยมีนายวัชระ กิตติวรเชฏฐ์ วิศวกร นายจิรวุฒิ คนรู้ เจ้าหน้าที่โครงการ กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี นายวศิน เอี่ยวเฮ็ง วิศวกร ศูนย์วิจัยระบบพลังงานสะอาด และนายสมภพ แก้ววรรณดี ครูฝึกแรงงานเทคนิค ร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ และทักษะที่เกี่ยวกับวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ และการดำเนินงานโรงเรือนอัจฉริยะ ซึ่งเป็นการเรียนรู้การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนนิกส์ การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน โดยถ่ายทอด กระบวนการเพาะปลูก ขั้นตอนและอุปกรณ์ในการติดตั้ง เกี่ยวกับเทคโนโลยีโรงเรือนที่ควบคุมสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิอากาศ ความชื้นดิน ความเข้มของแสงให้ตรงตามความต้องการของพืชแต่ละชนิด ทำให้สามารถปลูกพืชได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังได้มาการสาธิตระบบควบคุมอัตโนมัติการใช้งานระบบ IOT และการทดลองระบบมอนิเตอร์และการแจ้งเตือนรถสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลโดยใช้เซ็นเซอร์วัดอัตราการไหลของน้ำ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการเกษตร ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการประกอบอาชีพทางด้านเกษตรอัจฉริยะ และได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรม ประสบการณ์ของแรงงานไทยจากการทำงานที่ประเทศอิสราเอล เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ ต่อยอด สร้างอาชีพ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต สามารถนำไปเป็นต้นแบบสำหรับชุมชนเพื่อผลักดันใช้ประโยชน์ และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่ได้อีกด้วย







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา