เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 16 มกราคม 2567 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 825 คน
วันที่ 15 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารสำนักงานบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย รองศาสตราจารย์วิเชษฐ ทิพย์ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย เป็นประธานในการประชุมสร้างความเข้าใจการดำเนินโครงการขับเคลื่อน กลไกการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม เครื่องมือ และสิ่งประดิษฐ์ แก่รองคณบดีทั้ง 3 คณะในพื้นที่ คณาจารย์ และบุคลากรภายใน โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรจักร์ เมืองใจ ผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม และแนวทางการดำเนินโครงการ จากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีระศักดิ์ สมศักดิ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และนายนริศ กำแพงแก้ว ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ ได้นำการแลกเปลี่ยนถึงแนวทางการดำเนินโครงการภายใต้กรอบงบประมาณของแผนงานใต้ร่มพระบารมี ในปีงบประมาณ 2567 พร้อมทั้งการขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่การจดสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร และยกระดับสร้างมาตรฐานให้แก่ผลิตภัณฑ์ขอ มหาวิทยาลัย
การจัดประชุมดังกล่าวเป็นการสร้างความเข้าใจ สร้างกลไกการพัฒนากระบวนการติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลโดยให้บทบาทสำคัญแก่พื้นที่ เพื่อเป็นการยกระดับผลงานให้เกิดการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายใน และภายนอก ภายใต้โครงการขับเคลื่อนกลไกการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม เครื่องมือ และสิ่งประดิษฐ์ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการฐานข้อมูลงานวิจัย และงานบริการวิชาการที่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาในพื้นที่ และสร้างความเข้าใจการดำเนินโครงการ ตัวชี้วัด กรอบงบประมาณของกลุ่มใต้ร่มพระบารมี ประจำปีงบประมาณ 2567 รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropiate Technology) และการขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่การจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และการยกระดับสร้างมาตรฐานให้แก่ผลิตภัณฑ์ของมหาวิทยาลัย งบประมาณโครงการกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ประจำปี 2567
พร้อมกันนี้สถาบันวิจัยและพัฒนา ในฐานะหน่วยบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้นำเสนอโครงการยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถด้านวิจัย และพัฒนานวัตกรรมด้วยกระบวนการบูรณาการระหว่างการเรียนการสอนร่วมกับงานวิจัยและบริการวิชาการสำหรับบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยมีเป้าหมายด้านการพัฒนากำลังคนทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน ให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย การดำเนินงาน และการบริหารจัดการงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตอบโจทย์ความท้าทายของสังคม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนถึงการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ให้คณะอาจารย์ได้นำเอาองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ ที่เข้มแข็งของแต่ละเขตพื้นที่ มาร่วมพัฒนางานที่ตอบโจทย์เชิงพื้นที่ได้อย่างเข็มแข็งผ่านกลไก การทำงานที่มีเครือข่ายภาคีในพื้นที่มากขึ้น และพัฒนายกระดับรูปแบบของโครงงาน ปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์สู่งานวิจัยที่ดีตอบโจทย์พื้นที่ ภายใต้วิสัยทัศน์การเป็น “มหาวิทยาลัยนวัตกรรมเพื่อชุมชน" ที่จะนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อให้เกิดเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และนโยบายของรัฐบาล
ภาพ/เรียบเรียง นางสาวพิมลพรรณ เลิศบัวบาน
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา