โลโก้เว็บไซต์ กิจกรรม เวทีนำเสนอผลงานโครงการ RMUTL New Blood Transfusion’67 สร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อชุมชนอย่างยั่งยืน | กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี

กิจกรรม เวทีนำเสนอผลงานโครงการ RMUTL New Blood Transfusion’67 สร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อชุมชนอย่างยั่งยืน

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 26 กันยายน 2567 โดย วีรวิทย์ ณ วรรณมา จำนวนผู้เข้าชม 305 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

          เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุมดอยหลวง ชั้น 2 โรงแรม Kantary Hills จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการจัดเวทีนำเสนอผลงานภายใต้โครงการ "RMUTL New Blood Transfusion’67 พลังนิสิต นักศึกษาเพื่อชุมชน สร้างการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาชุมชน สังคม ด้วยศาสตร์พระราชา ร่วมกับการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอน ภายใต้แนวคิด กินได้ ใช้ได้ ขายได้ อยู่ได้" ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา) ในแผนงานพัฒนางานวิจัย บริการวิชาการ นวัตกรรม และเทคโนโลยีสู่การใช้งานจริงอย่างยั่งยืน (SDGs) ประจำปีงบประมาณ 2567

           พิธีเปิดงาน ภายในงานได้รับเกียรติจากคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขา โดยเริ่มจากการกล่าวต้อนรับโดย ผศ.ดร.วรจักร์ เมืองใจ หัวหน้ากลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี จากนั้น ผศ.วิสูตร อาสนวิจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้กล่าวรายงานถึงความสำคัญของโครงการและเป็นผู้แทนกล่าวเปิดแทน ผศ.ดร.ธีระศักดิ์ สมศักดิ์ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา

           เสวนาทางวิชาการ ในช่วงเสวนาทางวิชาการ หัวข้อ “การพัฒนาชุมชน สังคม ด้วยศาสตร์พระราชา ร่วมกับการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอน ภายใต้แนวคิด กินได้ ใช้ได้ ขายได้ อยู่ได้” มีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย

  • ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน ที่ปรึกษารักษาราชการแทนอธิการบดี มทร.ล้านนา
  • ผศ.ดร.วรจักร์ เมืองใจ หัวหน้ากลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี
  • ผศ.วิสูตร อาสนวิจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา
  • ผศ.มนตรี เงาเดช รองผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

        การเสวนาครั้งนี้มุ่งเน้นถึงบทบาทของนักวิจัยรุ่นใหม่ในการนำพลังความรู้และนวัตกรรมมาช่วยเสริมสร้างและพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสามารถตอบโจทย์ในเรื่องความยั่งยืนและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชนได้จริง

      SDG 1: ขจัดความยากจน – โครงการมุ่งส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ "กินได้ ใช้ได้ ขายได้"

      SDG 4: การศึกษาที่เท่าเทียม – ส่งเสริมการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ที่นำไปใช้พัฒนาชุมชนได้จริง

      SDG 8: การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ – ผลักดันการพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมในชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้และคุณภาพชีวิต

      SDG 11: เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน – การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนผ่านการใช้ศาสตร์พระราชาและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงโครงการมุ่งสร้างความยั่งยืนในทุกมิติของสังคมทั้งทางเศรษฐกิจ การศึกษา และสิ่งแวดล้อม







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา