โลโก้เว็บไซต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ดำเนินโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อการสร้างทักษะวิชาชีพช่างยนต์ให้กับกลุ่มนักเรียนบนพื้นที่สูง ณ ศูนย์เรียนชุมชมชาวไทยแม่ฟ้าหลวงบ้านราชา ตำบลสบโขง อำเภออมก๋อย จังวัดเชียงใหม่ | กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ดำเนินโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อการสร้างทักษะวิชาชีพช่างยนต์ให้กับกลุ่มนักเรียนบนพื้นที่สูง ณ ศูนย์เรียนชุมชมชาวไทยแม่ฟ้าหลวงบ้านราชา ตำบลสบโขง อำเภออมก๋อย จังวัดเชียงใหม่

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 14 กุมภาพันธ์ 2566 โดย วีรวิทย์ ณ วรรณมา จำนวนผู้เข้าชม 544 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

         ระหว่างวันที่ 9 – 13 กุมภาพันธ์ 2566 หน่วยงานภายใต้ร่มพระบารมี สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ดำเนินโครงการการยกศักยภาพการผลิตการเกษตร อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ควบคู่กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (EDU Spectrum) ได้ดำเนินโครงการย่อยเรื่อง “การพัฒนาบุคลากรเพื่อการสร้างทักษะวิชาชีพช่างยนต์ให้กับกลุ่มนักเรียนบนพื้นที่สูง” ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาการยกระดับความสามารถทางเทคนิคและวิชาการให้กับกลุ่มครู ณ ศูนย์เรียนชุมชมชาวไทยแม่ฟ้าหลวงบ้านราชา ตำบลสบโขง อำเภออมก๋อย จังวัดเชียงใหม่ (อบรมแบบรวมกลุ่มศูนย์ฯศศช.)ในหัวข้อการสร้างความสามารถด้านช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ ผ่านการใช้สื่อคู่มือ และใบงาน ในกระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยหลักสูตรการฝึกอบรม มีบุคลากร อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา เป็นวิทยากรในดารอบรม ดังนี้ 1)นายวธัญญู วรรณพรหม ศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาชีพและเทคโนโลยี(COE) 2) นายศุภกิจ ศรีเรือง หน่วยงานภายใต้ร่มพระบารมี สำนักงานอธิการบดี 3) นายเอกวิทย์ แสงวัง หน่วยงานภายใต้ร่มพระบารมี สำนักงานอธิการบดี 4) นายอธิวัฒน์ สุขโชติ นักศึกษาสาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา และ5) นายเมธัส ภัททิยธนี อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา ตามลำดับ โดยได้จัดกิจกรรมส่งเสริมและฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากรเพื่อการสร้างทักษะวิชาชีพช่างยนต์ให้กับกลุ่มนักเรียนบนพื้นที่สูง เพื่อส่งเสริมทักษะวิชาชีพและสร้างกิจกรรมให้แก่ ครู และนักเรียนบนพื้นที่สูง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้ให้ความรู้และทักษะแก่ผู้ฝึกอบรม อาทิ การมีความรู้และทักษะในการบำรุงรักษารถจักรยานยนต์ประกอบกับการฝึกอ่าน ฝึกใช้คู่มือการซ่อมรถจักรยานยนต์ จำนวน 30 ราย โดยผู้เข้าอบรมได้สามารถซ่อมบำรุงและใช้คู่มือการซ่อมบำรุงรถจักรยานยนต์ ด้วยตนเองหลังจากได้รับการฝึกอบรม และมีทีมวิทยากรจาก มทร.ล้านนา เป็นผู้ดูแลในการซ่อมบำรุงฯ อีกทั้งผู้เข้าอบรมยังสามารถนำองค์ความรู้และทักษะที่ได้ไปใช้ในการฝึกอบรมในครั้งต่อไปด้วยตัวของครูเอง ในชีวิตประจำวัน และสามารถต่อยอดประกอบเป็นอาชีพได้อนาคตต่อไป







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา