เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 22 มกราคม 2567 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 758 คน
วันที่ 20 มกราคม 2567 ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ฐิติพร พันธุ์ท่าช้าง ผู้ช่วยอธิการบดี มทร.ล้านนา อาจารย์เมธัส ภัททิยธนี ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน และว่าที่ร้อยตรีเกรียงไกร ศรีประเสริฐ นักวิชาการศึกษา ชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานฝ่ายยุทธศาตร์การนำไปใช้ประโยชน์ สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เข้าร่วมรายงานผลการดำเนินและต้อนรับการตรวจเยี่ยมนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงแรงงาน ติดตามสถานการณ์แรงงานจังหวัดเชียงใหม่ ตามนโยบาย“ทักษะดี มีงานทำ หลักประกันทางสังคมเด่น เน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ แรงงานต้องมีศักยภาพสูงรองรับระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานชั้นสูงเพื่อรองรับการจ่ายค่าจ้างตามความสามารถการปฏิบัติงาน และเร่ง Up-skill for More Earn
ปัจจุบันเกิดความร่วมมือจัดศูนย์เรียนรู้โรงเรือนเกษตรแม่นยำปลอดภัย สำหรับผู้ประกอบการมืออาชีพด้านเกษตรอัจฉริยะ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ดอยสะเก็ด มีผู้เข้าศึกษาดูงาน ปี 2566 จำนวน 305 คน และปี 2567 จำนวน 160 คน เกิดความร่วมมือยกระดับฝีมือแรงงาน ระหว่าง มทร.ล้านนา กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่มีหลักสูตรอาชีพระยะสั้น Reskill – Upskill เพื่อสารมารถออกแบบ สร้างและซ่อมได้ และการประยุกต์ใช้ ในปี 2566 ประกอบด้วย 1) หลักสูตรการปลูกพืชภายใต้โรงเรือนรวมกับระบบ Internet of thing (IOT) จำนวน 20 คน 2) หลักสูตรการออกแบบระบบกระจายน้ำและระบบควบคุมการให้น้ำแก่พืช จำนวน 50 คน 3) หลักสูตรการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์เพื่อการเกษตร จำนวน 20 คน และพร้อมให้ความร่วมมือกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในการพัฒนาหลักสูตรจัดโครงการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต (Upskill/Reskill) การสะสมหน่วยการเรียนรู้ หรือธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank ) Modular Education และ/หรือ Modular Curriculum สำหรับแรงงานทักษะสูง ตามหลักสูตรอุดมศึกษา
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา