โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ลงพื้นที่เยี่ยมชม/ติดตามการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาการพูด อ่าน เขียน ภาษาไทย ในโรงเรียนพื้นที่จังหวัดเชียงราย | กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี

มทร.ล้านนา ลงพื้นที่เยี่ยมชม/ติดตามการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาการพูด อ่าน เขียน ภาษาไทย ในโรงเรียนพื้นที่จังหวัดเชียงราย

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 23 พฤศจิกายน 2565 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 668 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

          วันที่ 21 – 22 พฤศจิกายน 2565 นำโดย นายรัตนพล พนมวัน ณ อยุธยา สังกัดสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร ร่วมกับคณาจารย์ มทร.ล้านนาเชียงราย นายสมควร สงวนแพง คณะวิศวกรรมศาสตร์ นางสาวปองสุข  ศรีชัย นางวิยะดา มีศรี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนาเชียงราย และนายวรรธนพงศ์ เทียนนิมิตร เจ้าหน้าที่โครงการใต้ร่มพระบารมี ดำเนินงานโครงการสืบสานต่อยอดและติดตามเพื่อขับเคลื่อนงานโครงการตามพระราชดำริสำหรับคนทุกช่วงวัย ลงพื้นที่เยี่ยมชม/ติดตามการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาการพูด อ่าน เขียน ภาษาไทย ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ร่วมกับคณะทำงานสถาบันจิตติ คณะทำงานจากศูนย์ความร่วมมือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พร้อมด้วยคณะทำงานทางวิชาการจากหน่วยงานอื่นๆ อาทิ สภากาชาดไทย มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยขับเคลื่อนดำเนินงานในระหว่างวันที่ 21 - 22 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ได้แก่  1)ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านฟ้าไทยงาม ต.ปอ อ.เวียงแก่น  2)ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห๊วยกุ๊ก ต.ปอ อ.เวียงแก่น  3)โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชนัตถ์ปิยะอุย ต.ปอ อ.เวียงแก่น  4)โรงเรียนสมถวิลจินตมัยบ้านห้วยแล้ง ต.ท่าข้าม อ.เวียงแก่น  เพื่อสำรวจข้อมูลและติดตามการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาการพูด อ่าน เขียนภาษาไทย (Mobility of Volunteer educations : MOVE) 
          โครงการอ่านพูดเขียนไทย MOVE โรงเรียนในโครงการพระราชดำริความร่วมมือระหว่างสภากาชาดไทย มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี กสศ. และสถาบันอุดมศึกษาฯ เป็นการแก้ไขปัญหานักเรียนด้านการอ่าน การพูด และการเขียนภาษาไทยโดยเฉพาะในถิ่นทุรกันดาร ด้วยปฏิบัติการจริงในพื้นที่ ด้วยกลไกของ “ครูอาสาสมัคร” เพื่อให้ได้รูปแบบและวิธีการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านอ่าน พูด และเขียนไทย ของนักเรียนในถิ่นทุรกันดารที่สามารถนำไปขยายผลหรือปรับใช้กับพื้นที่อื่นๆ ได้





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา