โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลทางการเกษตร ณ สถานีเกษตรหลวงปางดะ  ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ | กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี

กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลทางการเกษตร ณ สถานีเกษตรหลวงปางดะ ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 10 สิงหาคม 2566 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 1025 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     ระหว่างวันที่ 7 – 9 สิงหาคม 2566 คณะทำงานกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลทางการเกษตร ณ สถานีเกษตรหลวงปางดะ ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม เพื่อนำร่องการพัฒนาความสามารถด้านวิศวกรรมและงานช่าง ให้กับบุคลากรในกลุ่มศูนย์/สถานีฯ ของมูลนิธิโครงการหลวง (Re-Up-New Skill) ภายใต้โครงการพัฒนายกระดับศักยภาพทักษะและบ่มเพาะอาชีพเพื่อประชาชนในพื้นที่ใต้ร่มพระบารมี ประจำปี 2566 ได้รับเกียรติจาก อ.เมธัส ภัททิยธนี หัวหน้าโครงการ พร้อมคณาจารย์ และนักวิจัย สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน ซึ่งประกอบด้วย บุคลากร เจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง  ของสถานีเกษตรหลวงปางดะ ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ และศูนย์เครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

กิจกรรมฝึกอบรม R-U-N Skill ในครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์สถานที่และได้รับเกียรติจาก ว่าที่ร้อยตรีณัฐทวี มาบางครุ หัวหน้าสถานีเกษตรหลวงปางดะ เป็นประธานในพิธีเปิดและพิธีปิด ทั้งนี้รายละเอียดหัวข้อที่ใช้ในการฝึกอบรมให้ความรู้ ได้แก่
                1) ระบบกลไกการทำงานของเครื่องยนต์เล็กสองและสี่จังหวะเพื่อการเกษตร
                2) การบำรุงรักษาขั้นนพื้นนฐาน ระบบไฟฟ้าของเครื่องยนต์ การทำงานนของระบบจุดระเบิด
                3) การซ่อมเครื่องยนต์เล็กการเกษตรสองจังหวะและสี่จังหวะเพื่อการเกษตร
                4) การถอดประกอบเครื่องยนต์ การวัดค่ามาตรฐาน การเปลี่ยนซีลข้อเหวี่ยง

     ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาสมรรถนะและความสามารถในการตรวจเช็ค แก้ไข และปฏิบัติงานได้จริง รวมถึงสามารถพัฒนางานด้านวิศวกรรมและงานช่างบนพื้นที่แบบกลุ่มศูนย์ร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อมูลนิธิโครงการหลวง





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา